![]() |
![]() |
ด้วยหลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้รับเงินสนับสนุนวิจัยจาก TCELS เพื่อ ดำเนินงานวิจัยเรื่อง “ศูนย์ผลิตเซลล์เชิงพาณิชย์” โดยการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการผลิตเซลล์ เพื่อให้ได้ คุณภาพและมาตรฐาน ซึ่งเทคโนโลยีนี้เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับการถ่ายทอดจากประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้เพื่อให้เป็น ที่รู้จักกับสังคมและเพื่อสามารถสร้างเครือข่ายกับ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี- พระจอมเกล้าธนบุรี จึงมีกำหนดจัดเสวนา เรื่อง KMUTT Special Seminar on “Regenerative Medicine Opportunities in Thailand and Japan” ในวันที่ 21 สิงหาคม 2558 ณ ห้อง ประชุม โรงแรมชาเทรียม เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการวิจัย “ศูนย์ผลิตเซลล์เชิงพาณิชย์” ที่ให้บริการผลิตเซลล์ และ เนื้อเยื่อที่ได้ คุณภาพและมาตรฐานตามข้อกำหนดสากล โดยโครงการนี้ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มวิจัยภาควิชา ออโธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ Professor Masahiro Kino-oka จาก Osaka University ประเทศญี่ปุ่น
![]() |
![]() |
งานเสวนานี้ประกอบด้วยผู้ร่วมบรรยายจากหน่วยงานของรัฐในประเทศไทย และ หน่วยงานของรัฐ และ เอกชนจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมทราบถึงสภาวะในปัจจุบันของการนำเซลล์ไปใช้ในการรักษา รวมทั้งข้อกำหนดของการรักษาในประเทศไทย นอกจากนั้นยังเป็นการให้ความรู้ในเรื่องรูปแบบของการผลิต เซลล์ และ กฎหมายควบคุมการรักษาแบบเวชศาสตร์ฟื้นฟูสภาวะเสื่อมในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งแนะนำ เทคโนโลยีใหม่โดยการนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในการควบคุมการผลิตเซลล์ ซึ่งเป็นความรู้ที่สำคัญเพื่อนำ ไปต่อยอดในการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ในระดับประเทศ
วิชานี้เป็นวิชาแนะนำหลักการพื้นฐานเบื้องต้นวิทยาศาสตร์ชีวภาพสำหรับนักศึกษาในสาขาอื่นๆที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ในช่วงแรกของวิชาเป็นการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิศวกรรมชีวภาพในแต่ละสาขา ในช่วงที่สองของวิชาเป็นการฟังการบรรยายจากอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาเพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการผสมผสานความรู้ทางด้านวิศวกรรมเข้ากับชีววิทยาเพื่อการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ให้แก่มนุษย์และธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักศึกษาต่อไปในอนาคตอีกด้วย วิชานี้มีการจัดกลุ่มทำโครงงานตามหลัก problem-based learning (PBL) (ซึ่งโครงงานจะนำเสนอในคาบสุดท้ายของวิชาเรียน)เกณฑ์การแบ่งคะแนนและประเมินผล: การเข้าห้องเรียน 10 % งานกลุ่มประจำสัปดาห์ และการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 20 % โปรเจค และการนำเสนอผลงาน 30 % สอบปลายภาค 40 %
ในทุกๆปี หลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพได้มีการจัดค่าย BIE Camp สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 และ 4 ขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สามารถทดลอง เรียนรู้ และเข้าใจความในศาสตร์ด้านวิศวกรรมชีวภาพ เช่น ชีววิทยาสังเคราะห์ ภาพชีวภาพ วิศวกรรมระดับนาโน วัสดุชีวภาพ กลศาสตร์ชีวภาพ และวิศวกรรมเนื้อเยื่อ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นโอกาสในการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใน มจธ. และยังมีเกมและกิจกรรมต่างๆสำหรับนักศึกษาเพื่อที่นักศึกษาจะได้มีประสบการณ์ที่น่าจดจำและไม่เหมือนใคร