ผศ.ดร.บุญเสริม แก้วกำเหนิดพงษ์ ร่วมกับนักศึกษา
1) นายวิษณุ จูธารี นักศึกษาปริญญาเอก สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม
2) นายฉัตรียะ จริยวจี นักศึกษาปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
3) นางสาวเพ็ญพิชชา หวังลาวัลย์ นักศึกษาปริญญาตรี สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม
ทีมงาน BotTherapist ได้ส่งหุ่นยนต์ BLISS เข้าประกวดในงาน AI and Robotics Innovation Contest 2018, AIROBIC2018 ประเภทหัวข้ออิสระ ซึ่งเป็นการประกวดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่นำเอาปัญญประดิษฐ์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ จัดโดย สมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย (AIAT) ร่วมกับสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย (TRS) ทีมได้รับรางวัลรองชนะเลิศ (รางวัลพิเศษ) เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี
ผลงาน "หุ่นยนต์ BLISS ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้เด็กออทิสติก" เป็นแพลตฟอร์มทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในระบบนิเวศน์สำหรับส่งเสริมพัฒนาการเด็กแบบองค์รวม ระหว่างเด็ก ผู้ปกครอง และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดย BLISS เป็นผู้ช่วยให้กับผู้ปกครอง ดึงดูดความสนใจเด็กให้อยู่กับการทำกิจกรรม ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง BLISS เป็นเพื่อนในการเรียนรู้กับเด็ก BLISS ช่วยเก็บข้อมูลการทำกิจกรรม วิเคราะห์ แล้วแสดงให้ผู้ปกครองและผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ได้ติดตามพัฒนาการต่อไป ให้ทุกคนในระบบนิเวศน์จะได้อยู่ on the same page แล้วช่วยกันบำบัดเด็กออทิสติกได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งที่บ้าน ที่โรงพยาบาล และโรงเรียน แต่จากการดำเนินงานวิจัยที่ผ่านของทีมงาน พบว่า เด็กทำกิจกรรมกับหุ่นยนต์ได้ดี เป็นเวลานานกว่า Attention Span ตามปกติของเขา แต่เด็กแต่ละคนมีพฤติกรรมต่างกัน ตอบสนองดีกับการกระตุ้นที่ต่างกัน เราจึงใช้ AI มาช่วยวิเคราะห์ Sentiment ของเด็ก จากใบหน้า และ Interaction พฤติกรรมระหว่างการทำกิจกรรม ให้หุ่นยนต์เรียนรู้ที่จะปรับเปลี่ยนการกระตุ้นให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละคน และช่วยแนะนำกิจกรรมที่เหมาะกับพัฒนาการของเด็กคนนั้นได้ เพื่อให้การบำบัด personalized กับเด็กแต่ละคน
วิชานี้เป็นวิชาแนะนำหลักการพื้นฐานเบื้องต้นวิทยาศาสตร์ชีวภาพสำหรับนักศึกษาในสาขาอื่นๆที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ ในช่วงแรกของวิชาเป็นการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับวิศวกรรมชีวภาพในแต่ละสาขา ในช่วงที่สองของวิชาเป็นการฟังการบรรยายจากอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายสาขาเพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญของการผสมผสานความรู้ทางด้านวิศวกรรมเข้ากับชีววิทยาเพื่อการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ให้แก่มนุษย์และธรรมชาติ นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่นักศึกษาต่อไปในอนาคตอีกด้วย วิชานี้มีการจัดกลุ่มทำโครงงานตามหลัก problem-based learning (PBL) (ซึ่งโครงงานจะนำเสนอในคาบสุดท้ายของวิชาเรียน)เกณฑ์การแบ่งคะแนนและประเมินผล: การเข้าห้องเรียน 10 % งานกลุ่มประจำสัปดาห์ และการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น 20 % โปรเจค และการนำเสนอผลงาน 30 % สอบปลายภาค 40 %
ในทุกๆปี หลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพได้มีการจัดค่าย BIE Camp สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 และ 4 ขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้สามารถทดลอง เรียนรู้ และเข้าใจความในศาสตร์ด้านวิศวกรรมชีวภาพ เช่น ชีววิทยาสังเคราะห์ ภาพชีวภาพ วิศวกรรมระดับนาโน วัสดุชีวภาพ กลศาสตร์ชีวภาพ และวิศวกรรมเนื้อเยื่อ เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นโอกาสในการสร้างความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมใน มจธ. และยังมีเกมและกิจกรรมต่างๆสำหรับนักศึกษาเพื่อที่นักศึกษาจะได้มีประสบการณ์ที่น่าจดจำและไม่เหมือนใคร